เมนู

และเป็นผู้น้อยกว่าเขาทั้งหมด ถามว่า อย่างไร. ตอบว่า ก็เขาชื่อว่า
ผู้ใหญ่กว่าอนาคามีทั้งปวงด้วยอายุ เพราะมีอายุหนึ่งหมื่นหกพันกัป. ชื่อว่า
ผู้น้อยกว่าอนาคามีทั้งปวง เพราะบรรลุอรหัตผลภายหลังกว่าเขาทั้งหมด. ใน
สูตรนี้ ท่านกล่าวโพชฌงค์อันเป็นบุพภาควิปัสสนาแห่งอรหัตมรรค ซึ่งมี
ลักษณะต่าง ๆ อันเป็นไปในขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง ไม่ก่อน ไม่หลัง.
จบอรรถกถาสีลสูตรที่ 3

4. วัตตสูตร



การอยู่ด้วยโพชฌงค์ 7


[383] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตร
เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารี-
บุตรแล้ว. ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7
ประการนี้. 7 ประการเป็นไฉน. คือ สติสัมโพชฌงค์ 1 ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ 1
วิริยสัมโพชฌงค์ 1 ปีติสัมโพชฌงค์ 1 ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ 1 สมาธิสัมโพชณงค์ 1
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ 1 ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย โพชฌงค์ 1 ประการนี้แล.
[384] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาโพชฌงค์ 7 ประการนี้ เรา
ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ
เราประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อ

นั้น ๆ เราประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์
ข้อนั้น ๆ.
[385] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ แก่เรา ดัง
พรรณนามานี้ เราก็รู้ว่าสติสัมโพชฌงค์ของเราหาประมาณมิได้ อันเราปรารภ
ดีแล้ว สติสัมโพชฌงค์เมื่อยังตั้งอยู่ เราก็รู้ว้าตั้งอยู่ ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของ
เราเคลื่อนไป เราก็รู้ว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ฯลฯ
[386] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่แก่เรา
ดังพรรณนามานี้ เราก็รู้ว้าอุเบกขาสัมโพชณงค์ของเราหาประมาณมิได้ อันเรา
ปรารภดีแล้ว อุเบกขาสัมโพชฌงค์เมื่อยังตั้งอยู่ เราก็รู้ว่าตั้งอยู่ ถ้าแม้อุเบกขา
สัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราก็รู้ว้าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย.
[387] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย หีบผ้าของพระราชาหรือของราช-
มหาอำมาตย์ เต็มด้วยผ้าสีต่าง ๆ พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์ ประสงค์จะ
นุ่งห่มผ้าชุดใด ๆ ในเวลาเช้า ก็นุ่งห่มผ้าชุดนั้น ๆ ได้ ประสงค์จะนุ่งห่มผ้า
ชุดใด ๆ ในเวลาเที่ยง ก็นั่งห่มผ้าชุดนั้น ๆ ได้ ประสงค์จะนุ่งห่มผ้าชุดใด ๆ
ในเวลาเย็น ก็นุ่งห่มผ้าชุดนั้น ๆ ได้ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้น เหมือนกัน บรรดา
โพชฌงค์ทั้ง 7 นี้ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วย
โพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วย
โพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วย
โพชฌงค์ข้อนั้น ๆ.
[388] ถ้าสติสัมโพชฌงค์มีอยู่แก่เรา ดังพรรณนามานี้ เราก็รู้ว่า
สติสัมโพชฌงค์ของเราหาประมาณมิได้ อันเราปรารภตีแล้ว สติสัมโพชฌงค์

เมื่อยังตั้งอยู่ เราก็รู้ว่าตั้งอยู่ ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราก็รู้
ว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ฯลฯ
[389] ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่แก่เรา ดังพรรณนามานี้ เราก็
รู้ว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราหาประมาณมิได้ อันเราปรารภดีแล้ว อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์เมื่อยังตั้งอยู่ เราก็รู้ว่าตั้งอยู่ ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเรา
เคลื่อนไป เราก็รู้ว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย.
จบวัตตสูตรที่ 4

อรรถกถาวัตตสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในวัตตสูตรที่ 4.
บทว่า สติสมฺโพชฺฌงฺโค อิติ เจ เม โหติ ความว่า ถ้าสติสัม-
โพชฌงค์ย่อมมีแก่เราตังพรรณนามานี้. บทว่า อปฺปมาโณติ เม โหติ ความว่า
เรารู้ว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราหาประมาณมิได้อย่างนี้. บทว่า สุสมารทฺโธ
ได้แก่ บริบูรณ์ดีแล้ว. ในบทว่า ติฎฺฐนฺต นี้ สติสัมโพชณงค์ย่อมตั้งอยู่
โดยอาการแปด. คือ พระเถระย่อมรู้ว่า สติสัมโพชฌงค์ ชื่อว่า ตั้งอยู่ เพราะ
ไม่ระลึกถึงความเกิด เพราะระลึกถึงความไม่เกิด คือ ความเป็นไป ความ
ไม่เป็นไป นิมิต ไม่มีนิมิต สติสัมโพชฌงค์ ชื่อว่า ตั้งอยู่ เพราะไม่ระลึก
ถึงสังขาร เพราะระลึกถึงอสังขาร ดังนั้น สติสัมโพชฌงค์ จึงตั้งอยู่ด้วย
อาการแปดเหล่านี้แล. พระเถระย่อมรู้ชัดซึ่งสติสัมโพชฌงค์ เมื่อประพฤติ
ย่อมประพฤติด้วยอาการแปดตรงกันข้ามกันอาการที่กล่าวแล้ว นั่นแหละ. แม้